ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รายวิชาที่ 9 : การจัดประสบการณ์แบบบูรณาตามแนวคิดมอนเตสซอรี (Montessori) สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี


MSU-MED
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

แผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชา

สถาบัน : คณะแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตร : ประกาศนียบัตร(ระยะสั้น) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับคลังหน่วยกิต
ชุดวิชา : พัฒนาศักยภาพครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 3 เดือน ถึง 3 ปี
ชื่อรายวิชา : การจัดประสบการณ์แบบบูรณาตามแนวคิดมอนเตสซอรี (Montessori) สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี (The Integrated Learning Experience based on Montessori Philosophy for Children under 3 Years)

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชานี้ให้ความรู้การจัดประสบการณ์อบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงสำคัญที่สุดของชีวิตเพราะเป็นช่วงวัยทองของการพัฒนาที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดของสมอง จะมีพัฒนาการที่ก้าวกระโดด มีการเจริญเติบโตไปแล้วเกือบร้อยละ 90 ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และด้านอุปนิสัย ระเบียบวินัย และรากฐานความเป็นตัวตนของเด็กในอนาคต ล้วนถูกสร้างไว้ครบหมดแล้วตามคำกล่าวของ ดร.มาเรีย มอนเตสซอรี (Dr. Maria Montessori) ที่กล่าวไว้ว่า

“At three years of age, the child has already laid the foundation of the human personality...”

“เมื่อเด็กอายุครบ 3 ปี รากฐานของบุคลิกภาพในความเป็นมนุษย์ได้ถูกก่อร่างสร้างตัวตนครบสมบูรณ์แล้ว...”

เด็กในช่วงวัยนี้จะมีช่วงเรียนรู้ไว (The Sensitive Periods) ที่ที่ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ดีและง่ายดาย เด็กเรียนรู้ไวได้ดีทางด้านภาษา (Language) ด้านความเป็นระบบระเบียบแบบแผน (Order) ด้านการเคลื่อนไหว (Movement) ความสัมพันธ์ของตาและมือ (Eyes-Hands Coordination) ด้านสังคม (Social Awareness) ความไวในการมองเห็นวัตถุเล็กๆ น้อยๆ รายละเอียดของสิ่งต่างๆ เด็กจะมองทุกสิ่งทุกอย่างแบบองค์รวมอย่างรวดเร็ว เด็กจะเรียนรู้ผ่านกระบวนการธรรมชาติที่เรียกว่า จิตซึมซับ (The Absorbent Mind) เด็กจะซึมซับอย่างไร้สำนึกจากทุกสิ่งทุกอย่างที่รอบตัวอย่างง่ายดาย โดยที่ยังไม่มีความสามารถในการแยกแยะ ถูก ผิด ดี ชั่ว

เพื่อให้เด็กได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ ควรนำเสนอกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้แบบบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยกิจกรรมพัฒนาการเคลื่อนไหว และการทำงานประสานสัมพันธ์กันของตาและมือ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้จำ (Psycho Sensory Motor Activities, PSM) กิจกรรมการพัฒนาทักษะภาษา (Language Skills) กิจกรรมในชีวิตประจำวัน (Practical Life Activities) ตามสภาพบริบทที่เด็กอาศัยอยู่ กิจกรรมพัฒนาทักษะทางสังคม อารมณ์ สติปัญญา (Grace and Courtesy Activities) ดังนั้น ผู้ใหญ่ต้องจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกห้องเรียน หรือที่บ้าน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีมุมส่งเสริมประสบการณ์ที่มีสื่อของจริงและสื่อธรรมชาติขนาดพอเหมาะกับเด็ก และเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กได้เรียนรู้ (Role of the Adult and Positive Discipline Practice)

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome)

    LO1 : ผู้เรียนสามารถเข้าใจ (Understand) หลักการ แนวคิด ทฤษฎี การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดมอนเตสซอรี (Montessori) สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี สามารถเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางสมอง และพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ วินัยและสติปัญญา
    LO2 : ผู้เรียนสามารถจัดประสบการณ์ (Use) แบบบูรณาการสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทักษะการเคลื่อนที่/เคลื่อนไหว และการรู้คิด พัฒนาทักษะทางอารมณ์ สังคม พัฒนาทักษะด้านภาษา สามารถพึ่งพาตนเองในชีวิตประจำวันที่เหมาะสมกับวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้
    LO3 : ผู้เรียนสามารถออกแบบ (Create) การจัดประสบการณ์แบบบูรณาการสำหรับเด็ก เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการทักษะการเคลื่อนที่/เคลื่อนไหว และการรู้คิด พัฒนาทักษะทางอารมณ์ สังคม พัฒนาทักษะด้านภาษา สามารถพึ่งพาตนเองในชีวิตประจำวัน ที่เหมาะสมกับวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้
    LO4 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึง (Access) แหล่งข้อมูล และการจัดประสบการณ์เสริมจากช่องทางที่หลากหลาย ในการให้เด็กมีพัฒนาการทักษะการเคลื่อนที่/เคลื่อนไหว และการรู้คิด พัฒนาทักษะทางอารมณ์ สังคม พัฒนาทักษะด้านภาษา สามารถพึ่งพาตนเองในชีวิตประจำวัน ที่เหมาะสมกับวัยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ได้

หัวข้อการเรียนรู้ (Course Outline)

    แนวทางการเรียนรู้
    บทที่ 1 รู้จักหลักการ แนวคิดทฤษฎีการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดมอนเตสซอรี (Montessori) สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
    1.1 อัตชีวประวัติแพทย์หญิง ดร. มาเรีย มอนเตสซอรี (Dr. Maria Montessori)
    1.2 ทฤษฎีแนวโน้มความเป็นมนุษย์ (Human Tendencies) หรือแนวโน้มนิสัยของมนุษย์
    1.3 พัฒนาการ 4 ระนาบ (Four Planes of Development)
    1.4 ช่วงการเรียนรู้ไว (The Sensitive Periods)
    1.5 จิตซึมซับ (The Absorbent Mind)
    1.6 ขอบเขตอิสรภาพและวินัย (Clear Limits ,Freedom and Limits)
    1.7 การสังเกต(Observation)
    1.8 การศึกษาแบบมอนเตสซอรี (Montessori) การจัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์สิ่งแวดล้อม บทบาทของผู้ใหญ่ และการเรียนรู้ของเด็กอย่างเป็นรูปธรรม ได้ลงมือปฏิบัติจริง
    บทที่ 2 กิจกรรมการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว (Psycho Sensory Motor activities)
    บทที่ 3 กิจกรรมการพัฒนาทักษะทางภาษา (Language skill)
    บทที่ 4 กิจกรรมชีวิตประจำวัน การทำงานอย่างมีเป้าหมาย (Practical Life Activities)
    บทที่ 5 กิจกรรมพัฒนาทักษะทางสังคม อารมณ์ สติ ปัญญา (Grace and Courtesy Activities
    บทที่ 6 บทบาทหน้าที่ของครูและผู้ดูแลเด็ก (Role of the Adult and Positive Discipline Practice)
    บทที่ 7 บทส่งท้าย

คุณสมบัติผู้เรียน

รายวิชานี้เหมาะสำหรับครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย และผู้ที่สนใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือผู้สนใจทั่วไป

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำบท
    การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป
    การเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตรแสดงการเข้าเรียนรายวิชา (Certificate of Completion) เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของเนื้อหาทั้งหมด
    การให้ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการเรียนรายวิชา (Certificate of Achievement) + 1 หน่วยกิต เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 80% ของเนื้อหาทั้งหมด และสอบข้อสอบที่จัดให้ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป

จำนวนหน่วยกิต

1 หน่วยกิต

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

    จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด : 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
    เวลาเรียนโดยประมาณ : 5 สัปดาห์ (3 ชั่วโมง/สัปดาห์)
    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้จากสื่อวิดีทัศน์ : 5 ชั่วโมง

ผู้รับผิดชอบรายวิชา

    อ.นพ.บวร แสนสุโพธิ์
    ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    ดร.สวาสฎิพร แสนคำ
    ผู้จัดการสวนเด็กสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา : [email protected]
      AMI Diploma for Administrators, Thailand
      AMI Diploma for 3 - 6, Thailand
      AMI Diploma for 6 - 12, Thailand
    นางสาววชิรา ดงภูบาล
    ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา : [email protected]
      AMI Diploma for 3 - 6, Thailand
      AMI Diploma for Administrators, Thailand
      TEFL Certificate Toronto University, USA
      AMI Diploma for 0 - 3, Arizona USA
      Postpartum Doula - Simkin Center USA
    นางปิติพร เบญจจินดา
    พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    หัวหน้าศูนย์สวนเด็กสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    นางสาวสุนิสา โสภาอุทก
    ครูผู้สอน / หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
    สวนเด็กสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม