ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รายวิชาที่ 2 : การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพในเด็ก เพื่อป้องกันกลุ่มโรคแห่งศตวรรษที่ 21


MSU-MED
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

แผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชา

สถาบัน : คณะแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตร : ประกาศนียบัตร(ระยะสั้น) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับคลังหน่วยกิต
ชุดวิชา : พัฒนาศักยภาพครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 3 เดือน ถึง 3 ปี
ชื่อรายวิชา : การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพในเด็ก เพื่อป้องกันกลุ่มโรคแห่งศตวรรษที่ 21

เกี่ยวกับรายวิชา (Course Description)

กลุ่มโรคแห่งศตวรรษที่ 21 ในที่นี้ หมายถึง 4 กลุ่มโรค คือ กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) กลุ่มโรคอุบัติใหม่ กลุ่มโรคที่เป็นผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีและกลุ่มโรคภัยจากสิ่งแวดล้อม(โลกร้อน) ซึ่งพบว่า มีผลต่อสุขภาพแตกต่างจากกลุ่มโรคในศตวรรษเดิมอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ใช่การติดเชื้ออีกแล้ว แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรม วิถีชีวิต ที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค (Health Risks) โดยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs และโลกร้อน ถูกจัดเป็นวาระเร่งด่วนของโลก การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องตั้งแต่วัยเด็กเป็นกลยุทธสำคัญในการป้องกันปัญหาทุกกลุ่มโรค โดยพ่อแม่และครูพี่เลี้ยง คือ คนสำคัญ

รายวิชานี้มี 5 ตอน 10 บท โดย ตอนที่ 1 เป็นภาพรวมทำความรู้จักกลุ่มโรคแห่งศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 2 กลุ่มโรค NCDs และโรคอุบัติใหม่ ตอนที่ 3 กลุ่มโรคจากผลกระทบการใช้เทคโนโลยี่และสิ่งแวดล้อม ตอนที่ 4 ครูทำได้หนูทำได้ และตอนที่ 5 สรุปขบวนการเรียนรู้จะเน้นรู้จักพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภัยจากโรคกลุ่มต่างๆ และท้าทายครูให้ปรับพฤติกรรมได้ เลือกมา 7 พฤติกรรม เพื่อให้ครูทำได้ แล้วสามารถขมวดสู่การปลูกฝังเด็ก เมื่อจบรายวิชาคาดหวังว่าผู้เรียนจะมีเจตนคติที่ดีในการปรับพฤติกรรมสุขภาพตัวเอง สามารถนำไปบูรณาการกับการจัดกิจกรรมรายวันในสถานพัฒนาเด็ก เช่น การฝึกเด็กกินอาหารไม่เค็ม ให้กินผักผลไม้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยี่ที่จะส่งผลต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม และการป้องกันโรคอุบัติใหม่ จนเด็กมีความเคยชิน ฝังเป็นพฤติกรรมสุขภาพที่ดีประจำตัว การเรียนรู้จะเป็นการบรรยาย การให้ลองคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสาธิตปฏิบัติ เพื่อให้เกิดวงจร “ครูทำได้ หนูทำได้” จริง

*กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs - Non-Communicable Diseases) หมายถึง โรคที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต มีการดำเนินโรคอย่างช้าช้า เมื่อเกิดอาการแล้วมักเกิดการเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน โรคสมอง กระดูก มะเร็ง เป็นต้น

โรคอุบัติใหม่ หมายถึงโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก รวมถึงโรคเก่าที่กลับมาแพร่กระจายไปสู่พื้นที่ใหม่หรือมีความชุกขึ้นมาใหม่

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)

    LO1 : ผู้เรียนสามารถเข้าใจ (Understand) ความสำคัญของผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากกลุ่มโรคแห่งศตวรรษที่ 21
    LO2 : ผู้เรียนสามารถมีทักษะ (Use) ในการปรับพฤติกรรมตัวเอง เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจากโรคกลุ่มนี้ และในการบูรณาการสู่กิจกรรมรายวันในสถานพัฒนาเด็ก เพื่อให้เด็กชินกับวิถีปฏิบัติและเกิดการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เพื่อการเป็นต้นทุนในการต่อยอดพัฒนาทักษะในระดับสูงต่อไป
    LO3 : ผู้เรียนสามารถมีนวตกรรม (Create) ในการบริหารจัดการตัวเองสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน สามารถทำให้เด็กมีความสนใจในการปฏิบัติ สม่ำเสมอ จนเป็นพฤติกรรมติดตัว
    LO4 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึง (Access) แหล่งข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุน การสร้างความเข้าใจ การได้เรียนรู้เทคนิค การบริหารจัดการด้านพฤติกรรม จากผู้มีประสบการณ์ จากหนังสือและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้ง ระบบ online และ offline

หัวข้อการเรียนรู้ (Course Outline)

    บทที่ 1 ทำความรู้จัก ภาพรวมกลุ่มโรคแห่งศตวรรษที่ 21
    บทที่ 2 พฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDS
    บทที่ 3 พฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันกลุ่มโรคอุบัติใหม่ โควิด 19 (COVID-19)
    บทที่ 4 พฤติกรรมสุขภาพ ป้องกันกลุ่มโรคอุบัติใหม่ โรคมาอุบัติซ้ำ
    บทที่ 5 พฤติกรรมป้องกันภัยสุขภาพจาก Electronics และ Technology
    บทที่ 6 พฤติกรรมป้องกันภัยสุขภาพจาก ปัญหาสิ่งแวดล้อม/โลกร้อน
    บทที่ 7 ท้าทายครูพี่เลี้ยง 7 พฤติกรรมสุขภาพ (การกิน การนอน การออกกำลังกาย การดื่มน้ำ การฝึกสติและสมาธิ การใช้เทคโนโลยี และการดูแลสิ่งแวดล้อม)
    บทที่ 8 ลองดู ปลูกฝัง 7 พฤติกรรมสุขภาพ สู่ชีวิตประจำวันเด็ก
    บทที่ 9 เจอแบบนี้ ทำอย่างไรดี
    บทที่ 10 เลือกเป็น เข้าถึงได้ แหล่งเรียนรู้ online

คุณสมบัติผู้เรียน

รายวิชานี้เหมาะสำหรับครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและผู้ที่สนใจ ในการให้การดูแลทารกและเด็กเล็ก ด้านสุขภาพประเด็น การปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในกิจกรรมชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันภัยสุขภาพจากกลุ่มโรคติดต่อไม่เรื้อรัง NCDs โรคอุบัติใหม่ โรคจากสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี โดยอาศัยหลัก สร้างความเข้าใจและเจตนคติที่ดีให้กับครูพี่เลี้ยง จนครูพี่เลี้ยงนำไปปฏิบัติสำหรับตัวเอง และนำสู่การพาเด็กทำ “ครูทำได้ หนูทำได้”

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำบท
    การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป
    การเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตรแสดงการเข้าเรียนรายวิชา (Certificate of Completion) เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของเนื้อหาทั้งหมด
    การให้ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการเรียนรายวิชา (Certificate of Achievement) + 1 หน่วยกิต เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 80% ของเนื้อหาทั้งหมด และสอบข้อสอบที่จัดให้ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป

จำนวนหน่วยกิต

1 หน่วยกิต

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

    จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด : 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
    เวลาเรียนโดยประมาณ : 5 สัปดาห์ (3 ชั่วโมง/สัปดาห์)
    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้จากสื่อวิดีทัศน์ : 5 ชั่วโมง

ผู้รับผิดชอบรายวิชา

    ผศ. นพ. เทพลักษณ์ ศิริธนะวุฒิชัย
    คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    ศาสตราจารย์คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร
    ที่ปรึกษา สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
    ที่ปรึกษา คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    เลขาธิการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
    ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา : [email protected]
    ผศ.นพ.เกรียงไกร โกวิทางกูร
    รองคณบดีฝ่ายโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม