ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลเด็กปฐมวัย


MSU-MED
ปิดการลงทะเบียนแล้ว

แผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชา

สถาบัน : คณะแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตร : ประกาศนียบัตร(ระยะสั้น) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับคลังหน่วยกิต
ชุดวิชา : พัฒนาศักยภาพครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 3 เดือน ถึง 3 ปี
ชื่อรายวิชา : ครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลเด็กปฐมวัย (เด็กแรกเกิดถึงสามป๊) (Family and community in early childhood)

เกี่ยวกับรายวิชา (Course Description)

รายวิชานี้ให้ความรู้เกี่ยวกับครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง ครอบคลุมเนื้อหาทั้งความหมาย ความสำคัญ เครื่องมือศึกษาครอบครัว หลักการ รูปแบบและบทบาทหน้าที่ของครอบครัว เสริมสร้างพลังและวินัยเชิงบวก รวมไปถึงการเสริมสร้างทักษะและคุณค่าของชีวิตการปรับตัวของครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งเชื่อมโยงกันกับการศึกษาในระดับชุมชน ประกอบไปด้วยความสำคัญของชุมชน ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ศึกษาชุมชน การเสริมสร้างพลังชุมชนเพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย และหลักการทำโครงการชุมชน นำไปสู่การมีส่วนร่วมของชุมชนและครอบครัวในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตในเด็กสืบต่อไป

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome)

    LO1 : ผู้เรียนสามารถเข้าใจ (Understand) การดูแลเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง เข้าใจในความรู้และเนื้อหาที่ครอบคลุมทั้งความหมาย ความสำคัญ ทฤษฎี เครื่องมือศึกษา หลักการ รูปแบบและบทบาทหน้าที่ของครอบครัวและชุมชน รวมทั้งความรู้ในการเสริมสร้างพลังและวินัยเชิงบวกการเสริมสร้างทักษะและคุณค่าของชีวิต การปรับตัวของครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและแนวทางการแก้ไขปัญหา
    LO2 : ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ (Use) ในการดูแลเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง และมีครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล
    LO3 : ผู้เรียนสามารถพัฒนานวัตกรรม (create) ในการจัดกิจกรรมการสร้างทักษะการดูแลเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการแก้ปัญหา เสริมพลังและวินัยเชิงบวก สำหรับครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล ทั้งในกรณีเด็กที่มีสุขภาพดีและเด็กที่มีโรคประจำตัว เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
    LO4 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึง (Access) กิจกรรม ประสบการณ์ และแหล่งข้อมูลที่จะช่วยสนับสนุนการสร้างทักษะความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลคุณภาพชีวิตของเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล

เนื้อหาวิชาและปฏิทินการเรียนรู้

    1. แนะนำรายวิชาและแบบทดสอบก่อนเรียน 72 นาที และการวัดผลการเรียนรู้ 30 นาที
    2. เรียนรู้ด้วยตนเอง 1 ชั่วโมง 30 นาที
    3. 3 บทเรียน 15 ชั่วโมง

หัวข้อการเรียนรู้ (Course Outline)

    บทที่ 1 การเรียนรู้เชิงทฤษฎีที่เกี่ยวกับครอบครัวและชุมชนเพื่อการดูแลเด็กปฐมวัย
      1.1 แนวคิดทฤษฎีและความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
      1.2 ครอบครัวศึกษา
      1.3 ชุมชนศึกษา
      1.4 การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลและส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม โดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง
    บทที่ 2 หลักการและแนวทางสนับสนุนครอบครัวและชุมชน
      2.1 จิตวิทยาเชิงบวกและการประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน
      2.2 แนวทางการสนับสนุนพ่อแม่และผู้เลี้ยงดูหลัก
      2.3 แนวทางการสนับสนุนปู่ย่าตายาย
      2.4 การเยี่ยมบ้าน
      2.5 เพิ่มพลังครอบครัวเพื่อความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวที่มีเด็กแรกเกิดถึงสามปี
    บทที่ 3 การปรับประยุกต์ใช้และการฝึกปฏิบัติจริง
      3.1 ตัวอย่างงานต่างประเทศ
      3.2 ตัวอย่างงานวิจัยประเทศไทย
      3.3 ตัวอย่างโครงการ Go Baby Go
      3.4 ตัวอย่างการสนับสนุนปู่ย่าตายาย
      3.5 ตัวอย่างเครื่องมือและแบบประเมิน

คุณสมบัติผู้เรียน

รายวิชานี้เหมาะสำหรับครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ผู้นำชุมชนและผู้ที่สนใจในการดูแลแบบองค์รวม โดยมีเด็กเป็นศูนย์กลาง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัยที่อยู่ในครอบครัวและชุมชน

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำบท
    การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป
    การเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตรแสดงการเข้าเรียนรายวิชา (Certificate of Completion) เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของเนื้อหาทั้งหมด
    การให้ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการเรียนรายวิชา (Certificate of Achievement) + 1 หน่วยกิต เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 80% ของเนื้อหาทั้งหมด และสอบข้อสอบที่จัดให้ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป

จำนวนหน่วยกิต

1 หน่วยกิต

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

    จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด : 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
    เวลาเรียนโดยประมาณ : 5 สัปดาห์ (3 ชั่วโมง/สัปดาห์)
    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้จากสื่อวิดีทัศน์ : 1.30 ชั่วโมง

ผู้รับผิดชอบรายวิชา

    พญ.พาณิชย์ จันทจร
    อ.ศิริยุภา เลาหภิญโญจันทรา

อาจารย์พิเศษ

    อ. อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์
    Thai Life Education
    ผศ.ดร. สาวิตรี ทยานศิลป์
    สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล