ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสอนการเรียนรู้ด้านสังคม อารมณ์และจริยธรรมให้กับเด็กต่ำกว่า 3 ปี


MSU-MED

แผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชา

สถาบัน : คณะแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตร : ประกาศนียบัตร(ระยะสั้น) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับคลังหน่วยกิต
ชุดวิชา : พัฒนาศักยภาพครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 3 เดือน ถึง 3 ปี
ชื่อรายวิชา : การสอนการเรียนรู้ด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรมให้กับเด็กต่ำกว่า 3 ปี (Teaching of Social, Emotional, and Ethical Learning for Children below 3 Years Old)

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

รายวิชานี้ให้ความรู้พื้นฐานและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการสอนให้เด็กต่ำกว่า 3 ปี เรียนรู้และพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรม (Social, Emotional, and Ethical Learning: SEEL) ซึ่งเป็นทักษะและคุณลักษณะที่สำคัญที่จะช่วยให้เด็กมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เข้าใจและควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ และมีพื้นฐานคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี อันจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กในอนาคตทั้งในด้านการเรียนรู้ การทำงาน สุขภาพ และการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานและโมเดลของการเรียนรู้และพัฒนาการ SEEL การสังเกตและการบันทึกเพื่อพัฒนาการ SEEL หลักไมล์ของพัฒนาการ SEEL ในแต่ละช่วงวัยของเด็กอายุ 0-3 ปี เรียนรู้วิธีการและสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมและพัฒนา SEEL รวมทั้งวิธีการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของเด็กในแต่ละช่วงวัยที่สามารถนำไปปรับปฏิบัติใช้ในแต่ละพื้นที่ได้ อีกทั้งเรียนรู้บทบาทของครอบครัวและผู้ใหญ่ที่มีต่อการพัฒนา SEEL ของทารกและเด็กเล็ก

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)

    LO1 : ผู้เรียนสามารถเข้าใจ (Understand) ความรู้พื้นฐานของการเรียนรู้และการพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรม และวิธีการสอนการเรียนรู้ด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรมให้กับเด็กต่ำกว่า 3 ปี
    LO2 : ผู้เรียนสามารถใช้ (Use) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเรียนรู้และการพัฒนาด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรมเพื่อนำไปปฏิบัติ และความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิธีการสอนการเรียนรู้ด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรมให้กับเด็กต่ำกว่า 3 ปีเพื่อนำไปสอนเด็ก
    LO3 : ผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้าง (Create) กิจกรรม ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อม เพื่อสอนและส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรม รวมทั้งการดูแลและแก้ไขเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม
    LO4 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึง (Access) กิจกรรม ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการสอนและการพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรม

หัวข้อการเรียนรู้ (Course Outline)

    แนวทางการเรียนรู้
    บทที่ 1 แนวคิดพื้นฐาน โมเดล และประโยชน์ของการเรียนรู้และพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรม
    บทที่ 2 การเรียนรู้ด้านสังคมและอารมณ์สำหรับครู/ผู้ดูแล
    บทที่ 3 พัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรมของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
    บทที่ 4 การส่งเสริมด้วยการสร้างความสัมพันธ์และสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพ
    บทที่ 5 การป้องกันด้วยการสนับสนุนทางสังคม อารมณ์ และจริยธรรมให้กับเด็กเป้าหมาย
    บทที่ 6 การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์และสังคม
    แหล่งความรู้เพิ่มเติม

คุณสมบัติผู้เรียน

รายวิชานี้เหมาะสำหรับครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย และผู้ที่สนใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสังคม อารมณ์ และจริยธรรมหรือผู้สนใจทั่วไป

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำบท
    การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป
    การเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตรแสดงการเข้าเรียนรายวิชา (Certificate of Completion) เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของเนื้อหาทั้งหมด
    การให้ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการเรียนรายวิชา (Certificate of Achievement) + 1 หน่วยกิต เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 80% ของเนื้อหาทั้งหมด และสอบข้อสอบที่จัดให้ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป

จำนวนหน่วยกิต

1 หน่วยกิต

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

    จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด : 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
    เวลาเรียนโดยประมาณ : 5 สัปดาห์ (3 ชั่วโมง/สัปดาห์)
    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้จากสื่อวิดีทัศน์ : 5 ชั่วโมง

ผู้รับผิดชอบรายวิชา

    ผศ. นพ. เทพลักษณ์ ศิริธนะวุฒิชัย
    คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    แพทย์หญิงนัยนา ณีศะนันท์
    กุมารแพทย์ กุมารเวชศาสตร์สังคม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
    ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา : [email protected]
    ศ. ดร.วิลาศ วูวงศ์
    วิศวกรคอมพิวเตอร์ และนักการศึกษาด้าน Neuroscience, AI และการศึกษาและการดูแลเด็กปฐมวัย
    ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา : [email protected]
Enroll