ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สื่อและของเล่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้


MSU-MED

แผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชา

สถาบัน : คณะแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตร : ประกาศนียบัตร(ระยะสั้น) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับคลังหน่วยกิต
ชุดวิชา : พัฒนาศักยภาพครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 3 เดือน ถึง 3 ปี
ชื่อรายวิชา : สื่อและของเล่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ (Materials and Toys for Playful Learning)

คำอธิบายรายวิชา (Course Description)

รายวิชานี้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบและผู้ที่สนใจในการพัฒนาเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบด้วยสื่อและของเล่นเข้าใจถึงความสำคัญ ประโยชน์ของสื่อและของเล่น ประเภทของสื่อและของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบการเลือกใช้สื่อและของเล่นที่เหมาะสมกับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบแต่ละช่วงวัย เทคนิควิธีการใช้สื่อและของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ การออกแบบและการผลิตสื่อและของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรายด้าน และการประเมินและการตรวจคุณภาพสื่อสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)

    LO1 : ผู้เรียนสามารถเข้าใจ (Understand) ความสำคัญ ประโยชน์ ประเภทของการใช้สื่อของเล่นและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กแต่ละช่วงวัย
    LO2 : ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์พัฒนาการและการเรียนรู้ และใช้สื่อและของเล่น (Use) ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบในด้านต่างๆได้
    LO3 : ผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้าง (Create) สื่อและของเล่นสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบได้
    LO4 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึง (Access) สื่อและของเล่นที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ

หัวข้อการเรียนรู้ (Course Outline)

    แนวทางการเรียนรู้
    บทที่ 1 ความสำคัญ ประโยชน์ของสื่อ ของเล่นและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเล่นสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
    บทที่ 2 ประเภท ลักษณะและเลือกใช้สื่อของสื่อและของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
    บทที่ 3 เทคนิควิธีการใช้สื่อและของเล่นที่เหมาะสมสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
    บทที่ 4 การออกแบบและการผลิตสื่อและของเล่นสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
    บทที่ 5 การประเมินและการตรวจคุณภาพสื่อสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
    แหล่งความรู้เพิ่มเติม

คุณสมบัติผู้เรียน

รายวิชานี้เหมาะสำหรับครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและผู้ที่สนใจในการให้การดูแลทารกและเด็กเล็ก ด้านสุขภาพ พัฒนาการ และ การป้องกันอุบัติภัย จากขบวนการเลี้ยงดูทารกและเด็กเล็ก

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำบท
    การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป
    การเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตรแสดงการเข้าเรียนรายวิชา (Certificate of Completion) เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของเนื้อหาทั้งหมด
    การให้ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการเรียนรายวิชา (Certificate of Achievement) + 1 หน่วยกิต เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 80% ของเนื้อหาทั้งหมด และสอบข้อสอบที่จัดให้ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป

จำนวนหน่วยกิต

1 หน่วยกิต

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

    จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด : 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
    เวลาเรียนโดยประมาณ : 5 สัปดาห์ (3 ชั่วโมง/สัปดาห์)
    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้จากสื่อวิดีทัศน์ : 5 ชั่วโมง

ผู้รับผิดชอบรายวิชา

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีณา ประชากูล (Asst.Prof. Veena Prachagool)
    คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา: veena.p@msu.ac.th
    รองศาสตราจารย์.พญ.กุสุมา ชูศิลป์ (Assoc.Prof.kusuma chusilp)
    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
    ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา: kuschu@kku.ac.th
Enroll