ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมองกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย


MSU-MED

แผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชา

สถาบัน : คณะแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตร : ประกาศนียบัตร(ระยะสั้น) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับคลังหน่วยกิต
ชุดวิชา : พัฒนาศักยภาพครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 3 เดือน ถึง 3 ปี
ชื่อรายวิชา : สมองกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย (Brain and Child Development)

เกี่ยวกับรายวิชา (Course Description)

รายวิชานี้ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสมอง ระบบประสาท และอิทธิพลของสมองและระบบประสาทที่มีต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านการสื่อสารและภาษา การรู้คิด (Cognition) และหน้าที่ปฏิบัติภารกิจ (Executive Functions) รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสมองกับการเล่น โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความรู้พื้นฐานของระบบประสาท สมอง พัฒนาการของสมอง และรู้ว่าพัฒนาการของเด็กปฐมวัยนั้นซับซ้อน และได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบหลายส่วนในหลายระดับ ตั้งแต่โครงสร้างสมองภายในตัวเด็ก ครอบครัว สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ชุมชน สังคม ไปจนถึงวัฒนธรรมและค่านิยมของประเทศ และจะเข้าใจว่าปฎิสัมพันธ์ระหว่างกระบวนภายในและกระบวนระหว่างสภาพแวดล้อมและองค์ประกอบในระดับต่างๆ เหล่านี้ ก่อรูปก่อร่างพัฒนาการของเด็ก นอกจากนั้น ผู้เรียนจะเรียนรู้ตัวอย่างวิธีการพัฒนาสมองให้มีสุขภาวะที่ดี และสามารถนำไปปฏิบัติได้

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)

    LO1 : ผู้เรียนสามารถเข้าใจ (Understand) ความรู้พื้นฐานของสมองและระบบประสาท ความสำคัญและความเกี่ยวข้องของสมองและระบบประสาทที่มีต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
    LO2 : ผู้เรียนสามารถใช้ (Use) ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความสำคัญและความเกี่ยวข้องของสมองและระบบประสาทที่มีต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ได้
    LO3 : ผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้าง (Create) กิจกรรม ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อม เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ได้
    LO4 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึง (Access) กิจกรรม ประสบการณ์ และสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพและเหมาะสมกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ได้

หัวข้อการเรียนรู้ (Course Outline)

    แนวทางการเรียนรู้
    บทที่ 1 พื้นฐานของระบบประสาทและสมอง
    บทที่ 2 องค์ประกอบที่มีอิทธิผลต่อการพัฒนาสมอง
    บทที่ 3 สมองกับพัฒนาการด้านการสื่อสารและภาษา
    บทที่ 4 สมองกับพัฒนาการด้านการรู้คิดและหน้าที่ปฏิบัติภารกิจ
    บทที่ 5 การเล่นและพัฒนาการของสมอง
    แหล่งความรู้เพิ่มเติม

คุณสมบัติผู้เรียน

รายวิชานี้เหมาะสำหรับครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย และผู้ที่สนใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือผู้สนใจทั่วไป

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำบท
    การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป
    การเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตรแสดงการเข้าเรียนรายวิชา (Certificate of Completion) เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของเนื้อหาทั้งหมด
    การให้ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการเรียนรายวิชา (Certificate of Achievement) + 1 หน่วยกิต เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 80% ของเนื้อหาทั้งหมด และสอบข้อสอบที่จัดให้ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป

จำนวนหน่วยกิต

1 หน่วยกิต

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

    จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด : 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
    เวลาเรียนโดยประมาณ : 5 สัปดาห์ (3 ชั่วโมง/สัปดาห์)
    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้จากสื่อวิดีทัศน์ : 5 ชั่วโมง

รายละเอียดรายวิชา

บทที่
หัวข้อการเรียนรู้
แนะนำรายวิชา
  • แนะนำรายวิชา
  • ขั้นตอนการเรียนรู้สู่ความสำเร็จในวิชานี้
  • ขั้นตอนการศึกษาเพิ่มเติม และกระทู้แบ่งปันประสบการณ์
  • ช่องทางพูดคุย สอบ-ถาม และ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

บทที่ 1 พื้นฐานของระบบประสาทและสมอง    
  • ระบบประสาท (ระบบประสาทกลาง, ระบบประสาทส่วนปลาย, การทำงานของระบบประสาท, ระบบประสาทอัตโนมัติ)
  • โครงสร้างและส่วนต่างๆ ของสมอง (สมองส่วนหน้า, สมองส่วนกลาง, สมองส่วนท้าย)
  • หน้าที่ของส่วนต่างๆ ของสมอง (หน้าที่ของสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง สมองส่วนท้าย ก้านสมอง ระบบลิมบิก และเปลือกสมอง)
  • การสื่อสารและเชื่อมโยงของเซลล์สมอง (เซลล์ประสาท, แอกซอน, เดนไดรต์, ปลอกไมอีลิน, จุดประสานประสาท, สารส่งผ่านประสาท)
  • ความยืดหยุ่นของประสาท (neuroplasticity) (การเปลี่ยนแปลงของการเชื่อมโยงเซลล์สมอง, การเล็มกิ่งของจุดประสานประสาท, ช่วงไวต่อการเปลี่ยนแปลงหรือหน้าต่างแห่งโอกาส)
  • ผลกระทบของประสบการณ์ในช่วงปฐมวัยที่มีต่อสมอง (สิ่งแวดล้อม, ประสบการณ์, ผู้ปกครอง, ผู้ดูแล)

บทที่ 2 องค์ประกอบที่มีอิทธิผลต่อการพัฒนาสมอง
  • ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิผลต่อการพัฒนาสมอง (ปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสภาพแวดล้อม, โภชนาการ, การนอน, การได้รับสารที่เป็นพิษ, ความสัมพันธ์กับผู้อื่น) 
  • อิทธิพลของความเครียดที่มีต่อการพัฒนาสมอง (สายสัมพันธ์ที่มั่นคงปลอดภัย, ความเครียดกับระบบประสาทอัตโนมัติ, ความเครียดของเด็ก, ความสามารถของเด็กในการจัดการความเครียด, ประเภทของความเครียด: ดี พอทนได้ และที่เป็นพิษ, ผลกระทบระยะยาวของความเครียด)
  • ความเครียดที่เป็นพิษและวิธีป้องกัน (สาเหตุของความเครียดที่เป็นพิษ, การสร้างความสัมพันธ์แบบตอบสนอง, resilience)
  • วิธีการพัฒนาสมองให้มีสุขภาวะที่ดี (ความสัมพันธ์ที่ดี, การมีปฏิสัมพันธ์แบบตอบสนอง, การให้เกียรติเด็ก, ความสม่ำเสมอ, การทำซ้ำ)

บทที่ 3 สมองกับพัฒนาการด้านการสื่อสารและภาษา    
  • หลักไมล์ของพัฒนาการด้านการสื่อสารและภาษาของเด็กปฐมวัย (ช่วงอายุ 0-12 เดือน, ช่วงอายุ 12-24 เดือน, ช่วงอายุ 24-36 เดือน)
  • วิธีส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสารและภาษา (การสื่อสารและพูดกับเด็ก, การสื่อสารโดยผ่านอัปกิริยา, ปฏิสัมพันธ์แบบตอบสนอง (facial expressions, touch, gestures, child-directed speech, tuning in), วิธี TALK (Tune in, Ask Questions, Lift language, Keep It Going)
  • การสอน 2 ภาษา (ความยืดหยุ่นของประสาท, ช่วงไวต่อการเรียนรู้ภาษา, การใช้สื่อช่วยสอนภาษาที่สอง, การใช้เพลงและการเล่นสอนภาษาที่สอง)
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพํฒนาการด้านการสื่อสารกับพัฒนาการด้านสติปัญญา (งานวิจัยของ Institute for Learning & Brain Sciences)

บทที่ 4 สมองกับพัฒนาการด้านการรู้คิดและหน้าที่ปฏิบัติภารกิจ    
  • พัฒนาการด้านการรู้คิดของเด็กอายุ 0-12 เดือน (ด้านความจำ, สาเหตุและผล, ความเข้าใจโลกกายภาพ, การจำแนกกลุ่ม)
  • พัฒนาการด้านการรู้คิดของเด็กอายุ 12-24 เดือน (พัฒนาการของเปลือกสมอง, การจำสิ่งต่างๆ, การเล่นกับสัญลักษณ์, การเลียนแบบ)
  • พัฒนาการด้านการรู้คิดของเด็กอายุ 24-36 เดือน (พัฒนาการของเปลือกสมองส่วนหน้า, ความยืดหยุ่นด้ารการรู้คิด, การแสดงบทบาทสมมติ, ทักษะการคิดตามเหตุผล, การจำแบบรูป, การแยกและจำแนกประเภท, Theory of Mind)
  • วิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านการรู้คิดของเด็กปฐมวัย (การประยุกต์ใช้วิธี Serve and Return, เรียนรู้แบบ Interactive Dualism (learn <--> play, individual <--> group, indoor <-> outdoor))
  • พัฒนาการด้านหน้าที่ปฏิบัติภาระกิจ (แบบจำลองของหน้าที่ปฏิบัติภาระกิจ, ชุดทักษะพื้นฐานของหน้าที่ปฏิบัติภาระกิจ: หน่วยความจำปฏิบัติงาน (working memory) ความยืดหยุ่นในการรู้คิด (cognitive flexibility) และการควบคุมเชิงยับยั้ง (inhibitory control))
  • วิธีการส่งเสริมพัฒนาการด้านหน้าที่ปฏิบัติภาระกิจ (วิธีการฝึกฝนทักษะพื้นฐานอันได้แก่ การฝึกฝนหน่วยความจำปฏิบัติงาน ความยืดหยุ่นในการรู้คิด และการควบคุมเชิงยับยั้ง)

บทที่ 5 การเล่นและพัฒนาการของสมอง
  • พัฒนาการของการเล่น (นิยามของ “การเล่น,” free play, guided play, ประโยชน์ของการเล่น
  • คุณลักษณะของการเล่นที่ดี (สนุก (joyful), มีความหมาย (meaningful), ให้ผู้เล่นมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือล้น (actively engaging), ให้ผู้เล่นมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (socially interactive), เล่นวนซ้ำให้ดีขึ้นได้ (iterative))
  • ขั้นตอนพัฒนาการของการเล่น (sensory play, functional play, early symbolic play, dramatic play)
  • ผลของการเล่นที่มีต่อส่วนต่างๆ ของสมอง
  • ทักษะที่เด็กได้จากการเล่น (collaboration, communication, content, critical thinking, creative innovation, confidence)

แหล่งความรู้เพิ่มเติม    
  1. หนังสือ "สมอง เรียน รู้" 
    http://www.okmd.or.th/upload/pdf/2560/BBL/BBL-Book/brain_learning.pdf

  2. รายวิชา "พื้นฐานของประสาทวิทยาศาสตร์ (Foundation of Neuroscience)" https://mux.mahidol.ac.th/courses/course-v1:MU-MB+2019+2019/about

ผู้รับผิดชอบรายวิชา

    ผศ. นพ. เทพลักษณ์ ศิริธนะวุฒิชัย
    คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    ศ. ดร.วิลาศ วูวงศ์
    วิศวกรคอมพิวเตอร์ และนักการศึกษาด้าน Neuroscience, AI และการศึกษาและการดูแลเด็กปฐมวัย
    ติดต่ออาจารย์ประจำวิชา : [email protected]
Enroll