ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

โภชนาการมารดาและเด็กปฐมวัย


MSU-MED

แผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชา

สถาบัน : คณะแพทยศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หลักสูตร : ประกาศนียบัตร(ระยะสั้น) ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี เพื่อรองรับคลังหน่วยกิต
ชุดวิชา : พัฒนาศักยภาพครู/ผู้เลี้ยงดูเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย อายุ 3 เดือน ถึง 3 ปี
ชื่อรายวิชา : โภชนาการมารดาและเด็กปฐมวัย (Maternal and early childhood nutrition (MECN))

เกี่ยวกับรายวิชา (Course Description)

รายวิชานี้ออกแบบสำหรับชุดวิชาพัฒนาศักยภาพครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยอายุ 3 เดือนถึง 3 ปี เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และสมรรถนะในการสนับสนุนโภชนการที่ดี สำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดาจนถึงวัยทารกและเด็กเล็ก ยึดหลักหน้าต่างโอกาสโภชนาการใน 1000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่โภชนาการมารดาขณตั้งครรภ์และให้นมยุตร การเข้าถึงมาตรฐานการให้อาหารทารกและเด็กเล็กหลังเกิด รวมทั้งการจัดบริการเพื่อปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes)

    LO1: ผู้เรียนสามารถเข้าใจ (Understand) โภชนาการ การเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกาย และหน้าต่างโอกาสของโภชนาการใน 1000 วันแรกของชีวิต
    LO2: ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ (Use) ในการพัฒนาทักษะการแนะนำ/ให้คำปรึกษา สนับสนุนโภชนาการสำหรับมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร กลยุทธ์การให้อาหารทารกและเด็กเล็ก และการให้บริการที่เป็นมิตรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หัวข้อการเรียนรู้ (Course Outline)

    บทที่ 1 โภชนาการ การเจริญเติบโต และ พัฒนาการด้านร่างกาย (Nutrition, Growth and Physical development
    บทที่ 2 หน้าต่างของโอกาสโภชนาการใน 1000 วันแรกของชีวิต (Nutritional opportunity in the first 1000 days of life)
    บทที่ 3 โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร (Nutrition for Pregnant and Lactating mothers)
    บทที่ 4 กลยุทธ์การให้อาหารทารกและเด็กเล็ก (Feeding Strategy for Infants and Toddlers)
    บทที่ 5 การให้บริการที่เป็นมิตรกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Breastfeeding Friendly Child Care)

คุณสมบัติผู้เรียน

รายวิชานี้เหมาะสำหรับครู อาจารย์ ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย และผู้ที่สนใจในการพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือผู้สนใจทั่วไป

เกณฑ์การวัดและประเมินผล

    การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำบท
    การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป
    การเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

    การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตรแสดงการเข้าเรียนรายวิชา (Certificate of Completion) เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ของเนื้อหาทั้งหมด
    การให้ประกาศนียบัตรแสดงการสำเร็จการเรียนรายวิชา (Certificate of Achievement) + 1 หน่วยกิต เมื่อเรียนรู้เนื้อหารายวิชาโดยการดูคลิปวิดีโอ ทำแบบฝึกหัด และ/หรือ อ่านเอกสารศึกษาด้วยตนเอง ไม่น้อยกว่า 80% ของเนื้อหาทั้งหมด และสอบข้อสอบที่จัดให้ได้คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65 ขึ้นไป

จำนวนหน่วยกิต

1 หน่วยกิต

จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้

    จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด : 15 ชั่วโมงการเรียนรู้
    เวลาเรียนโดยประมาณ : 5 สัปดาห์ (3 ชั่วโมง/สัปดาห์)
    จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้จากสื่อวิดีทัศน์ : 5 ชั่วโมง

ผู้รับผิดชอบรายวิชา

    อาจารย์ แพทย์หญิง พาณิชย์ จันทจร
    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม
    รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง กุสุมา ชูศิลป์
    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Enroll